มีเพื่อนๆ สมาชิกหลายท่านสนใจการปลูกผักไม้เลื้อย แต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร ให้ปลูกแล้วได้ประโยชน์ทั้งเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ และผลผลิตที่สามารถกินได้ โดยวัตถุประสงค์หลักคือ อยากปลูกให้สวยและโตไว้ก่อน เรื่องจะมีผลผลิตให้กินนั้นอีกเรื่องหนึ่ง
การปลูกบวบเหลี่ยม หรือ Angled Gourd จริงๆ ไม่ได้ยากอะไร แต่ก็ไม่ง่าย และผักชนิดนี้ก็สามารถขึ้นและให้ผลผลิตได้แม้แต่กับการใช้วิธี การปลูกผักในกระถาง โดยเริ่มต้นก็ต้องศึกษาธรรมชาติของ บวบเหลี่ยม ไว้ก่อนว่ามีลักษณะเป็นอย่างไรซึ่งจะอธิบายย่อๆ ดังนี้ บวบเหลี่ยม เป็นพืชผักที่อยู่ในตระกูล Cucurbitaceae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Luffa acutangula เป็นผักที่ใช้บริโภคส่วนของผล สามารถนำมาประกอบเป็นอาหารได้หลายชนิด เช่น ต้ม แกง ผัด หรือจิ้มน้ำพริก มีรสหวาน นอกจานี้บวบยังเป็นพืชที่มีลักษณะพิเศษ คือ ทนแล้ง ทนฝน โรคและแมลงไม่รบกวน บวบเหลี่ยมเป็นพืชเถาเลื้อยและมีอายุสั้น มีมือจับเกาะช่วยพยุงลำต้นบวบเหลี่ยมต่างจากบวบชนิดอื่นตรง ที่ผลมีลักษณะเป็นเหลี่ยม หลายเหลี่ยม ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียแยกกันอยู่ในต้นเดียวกันเช่นเดียวกับบวบหอม แต่มีลักษณะแตกต่างกันที่ใบเลี้ยงของต้นกล้า บวบเหลี่ยมมีสีเขียว ใบแก่มีสีเขียวอ่อนกว่าใบใหญ่กว่าเล็กน้อย ลอนบนใบตื้นกว่า ดอกจะบานในเวลาเย็น โดยบานตั้งแต่เวลา 17.30 น.เป็นต้นไป มีเหลี่ยมตามความยาวของผลตั้งแต่ขั้วจรดปลายผล ผิวผลค่อนข้างขรุขระ สีเขียวแก่ สำหรับพันธุ์ของบวบเหลี่ยมที่ปลูกในบ้านเรา ยังไม่มีการจำแนกรายละเอียดออกเป็นพันธุ์ต่างๆ ส่วนใหญ่ถือเป็นพันธุ์พื้นเมือง เพราะปลูกกันมานาน และมักเก็บเมล็ดไว้ทำพันธุ์เองต่อกันไป
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูก การปลูกบวบเหลี่ยมนั้น สามารถปลูกได้ในดินแทบทุกชนิด และดินค่อนข้างเป็นกรดเล็กน้อย ในดินมีความชื้นสูงพอเหมาะสม่ำเสมอ ควรได้รับแสงแดดเต็มที่ในระหว่างการปลูก อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 20-30 องศาเซลเซียส สามารถปลูกได้ทุกฤดูกาล การเตรียมดินสำหรับปลูก เนื่องจากบวบเหลี่ยมเป็นผักที่มีระบบรากลึกปานกลาง ดินที่ใช้หรือกระถางที่ใช้ควมีความลึกประมาณ 20-25 เซนติเมตร ก่อนปลูกควรตากดินไว้ประมาณ 5-7 วัน ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วคลุกเคล้าลงไปในดินโดยเฉพาะดินทรายและดินเหนียวต้องใส่ให้มาก เพื่อปรับสภาพของดินให้ดีขึ้นและ เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน ถ้าดินเป็นกรดควรใส่ปูนขาวปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ย่อยดินและ พรวนดิน ให้ละเอียดร่วนโปร่งพร้อมที่จะปลูกได้ การปลูกบวบเหลี่ยม ระยะปลูกที่เหมาะสมคือ ระยะระหว่างต้น 75 เซนติเมตร ระยะระหว่างแถว 100 เซนติเมตร การปลูกให้หยอดเมล็ดพันธุ์โดยตรงลง ในแปลงหลุมละ 4-5 เมล็ด ฝังให้ลึกลงไปในดินประมาณ 2-4 เซนติเมตร จากนั้นกลบเมล็ดด้วยดินร่วนหรือปุ๋ยคอกหนาประมาณ 1 เซนติเมตร รดน้ำให้ชุ่มอย่างสม่ำเสมอทุกวัน เมื่อต้นกล้างอกอายุได้ประมาณ 10-15 วันหรือมีใบจริง 2-4 ใบ ให้ถอนแยกต้นที่ อ่อนแอ หรือต้นที่ไม่สมบูรณ์ทิ้ง ให้เหลือไว้หลุมละ 3 ต้น แต่ไม่เป็นอุปสรรคหากปลูกในกระถาง ซึ่งสามารถหยอดเมล็ดในหลุมปลูกได้ประมาณ 8-10 เมล็ดเลยทีเดียว การทำค้างบวบเหลี่ยม จำเป็นอย่างมาก เมื่อบวบเหลี่ยมเริ่มเลื้อยหรือเมื่ออายุประมาณ 15-20 วัน ควรทำค้างหรือร้านเพื่อให้บวบเลื้อยเกาะขึ้นไป โดยใช้ลวดหรือสลิง ขึงเป็นรูปตาข่ายให้แข็งแรงโดยขึงเป็นตาราง 4 เหลี่ยมพาดขวางประมาณ 2-3 ช่วง ทุกๆ ระยะ 40-50 เซนติเมตร การดูแลรักษาบวบเหลี่ยม ก็ไม่ยากนัก ส่วนใหญ่เน้นการให้น้ำ ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอและเพียงพอ ไม่ควรให้บวบเหลี่ยมขาดน้ำ ในระยะออกดอกและติดผล เพราะทำให้ดอกร่วงและ ไม่ติดผล ระบบการให้น้ำแบบปล่อยตามร่องจะให้ผลดี และหลีกเลี่ยงการให้น้ำแบบพ่นฝอยเพราะจะทำให้เกิดปัญหาโรคทางใบได้
หลายท่านบอกปลูกแล้วทำไมไม่ติดผล สำคัญที่การใส่ปุ๋ย เรื่องการใส่ปุ๋ย ควรให้ปุ๋ยที่มีสัดส่วนของธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียม และควรให้ปุ๋ยไนโตรเจน เช่น ยูเรียหรือแอมโมเนียมไนเตรท เพื่อช่วยเร่งการเจริญเติบโตในช่วงแรกแต่ต้องระมัดระวังไม่ควรให้ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไปเพราะจะทำให้เกิดอาการเฝือใบ การใส่ควรแบ่งใส่ 2 ครั้ง คือ ใส่ครั้งแรกในตอนปลูกแบบรองพื้นแล้วพรวนดินกลบ และใส่ครั้งที่สองเมื่อบวบอายุประมาณ 20-30 วัน โดยใส่แบบโรยข้างแล้วพรวนดินกลบ การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนควรใส่เพียงครั้งเดียวแบบโรยข้างเมื่อบวบอายุประมาณ 7-10 วัน
โ่รคและแมลงศัตรูที่สำคัญของบวบเหลี่ยม
โรคราน้ำค้างของบวบเหลี่ยม สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Pseudoperonospora cubensis อาการเริ่มแรก จะพบเป็นจุดสีเหลืองซีด ขนาด เล็กทางด้านหน้าใบ จุดดังกล่าวจะขยายออกเป็นรูปเหลี่ยมตามลักษณะของเส้นใบ เมื่อพลิกดูใต้ใบในเวลาเช้าจะพบเขม่าสีเทา ดำ ตรงบริเวณแผลนั้น ซึ่งเป็นส่วนของเชื้อและเนื้อเยื่อบริเวณที่เป็นแผลมีลักษณะแห้ง ยุบตัวลง เมื่อแผลรวมกันมากๆ จะทำให้เกิด อาการ ใบไหม้ การป้องกันกำจัดโรคราน้ำค้าง คลุกเมล็ดด้วยเมทาแลคซิลอัตรา 7 กรัมต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม กำจัดวัชพืชในแปลงปลูก เก็บใบแก่ๆ ที่แสดงอาการ ของโรค ใส่ถุงพลาสติกแล้วนำไปเผาทำลาย นอกจากนี้ฉีดพ่นด้วย คลอโรทาโรนิลหรือแมลโคเซป ในอัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
เต่าแตง เต่าแตงมีอยู่ 2 ชนิด คือ ชนิดสีดำ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Aulacophola frontalis และชนิดสีแดง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Aulacophola similis แต่ส่วนใหญ่จะพบสีแดง เต่าแตงเป็นแมลงปีกแข็ง ขนาดลำตัวยาว 0.8 เซนติเมตร ปีกคู่แรกแข็งเป็นมัน ลำตัวค่อนข้างยาว เคลื่อนไหวช้า จะพบเสมอเวลากลางวันที่มีแดดจัด ตัวอ่อนอาศัยอยู่ในดิน ลักษณะหนอนสีขาวยาวตัวเต็มวัย ของเต่าแตงสามารถมีอายุได้ถึง 100 วัน เต่าแตงตัวเมียวางไข่เดี่ยวๆ เป็นกลุ่มเล็กๆ อายุไข่ 8-15 วัน อายุตัวอ่อน 18-35 วัน อายุดักแด้ 4-14 วัน ลักษณะการทำลาย โดยตัวแก่จะกัดกินใบ หากเกิดการระบาดรุนแรงทำให้ชะงักการทอดยอดได้ ส่วนตัวอ่อนอาศัยอยู่ในดินโดย กัดกินราก บวบที่ถูกเต่าแตงเข้าทำลายจะทำให้ผลผลิตลดลงและผลมีขนาดเล็กลง การป้องกันกำจัดเต่าแตง หมั่นตรวจดูบวบ ในเวลา เช้าที่แดดยังไม่จัด การจับทำลายด้วยมือจะช่วยได้มาก ภายหลังเก็บเกี่ยวผลหมดแล้วไม่ ควร ปล่อย ต้นบวบทิ้งไว้บนแปลง ควรถอนทำลาย มิฉะนั้นอาจกลายเป็นแหล่งสะสมของเต่าแตงต่อไปได้ ปลูกบวบเหลี่ยมขึ้นแล้ว อย่าลืมบวบพันธุ์อื่น หรือผักไม้เลื้อยพันธุ์อื่นร่วมด้วยก็ดี เนื่องจากบวบเหลี่ยมจะมีอายุสั้น หากปลูกชนิดเดียวเมื่อผักหมดอายุอาจทำให้ดูไม่สวยได้
การปลูกบวบเหลี่ยม หรือ Angled Gourd จริงๆ ไม่ได้ยากอะไร แต่ก็ไม่ง่าย และผักชนิดนี้ก็สามารถขึ้นและให้ผลผลิตได้แม้แต่กับการใช้วิธี การปลูกผักในกระถาง โดยเริ่มต้นก็ต้องศึกษาธรรมชาติของ บวบเหลี่ยม ไว้ก่อนว่ามีลักษณะเป็นอย่างไรซึ่งจะอธิบายย่อๆ ดังนี้ บวบเหลี่ยม เป็นพืชผักที่อยู่ในตระกูล Cucurbitaceae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Luffa acutangula เป็นผักที่ใช้บริโภคส่วนของผล สามารถนำมาประกอบเป็นอาหารได้หลายชนิด เช่น ต้ม แกง ผัด หรือจิ้มน้ำพริก มีรสหวาน นอกจานี้บวบยังเป็นพืชที่มีลักษณะพิเศษ คือ ทนแล้ง ทนฝน โรคและแมลงไม่รบกวน บวบเหลี่ยมเป็นพืชเถาเลื้อยและมีอายุสั้น มีมือจับเกาะช่วยพยุงลำต้นบวบเหลี่ยมต่างจากบวบชนิดอื่นตรง ที่ผลมีลักษณะเป็นเหลี่ยม หลายเหลี่ยม ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียแยกกันอยู่ในต้นเดียวกันเช่นเดียวกับบวบหอม แต่มีลักษณะแตกต่างกันที่ใบเลี้ยงของต้นกล้า บวบเหลี่ยมมีสีเขียว ใบแก่มีสีเขียวอ่อนกว่าใบใหญ่กว่าเล็กน้อย ลอนบนใบตื้นกว่า ดอกจะบานในเวลาเย็น โดยบานตั้งแต่เวลา 17.30 น.เป็นต้นไป มีเหลี่ยมตามความยาวของผลตั้งแต่ขั้วจรดปลายผล ผิวผลค่อนข้างขรุขระ สีเขียวแก่ สำหรับพันธุ์ของบวบเหลี่ยมที่ปลูกในบ้านเรา ยังไม่มีการจำแนกรายละเอียดออกเป็นพันธุ์ต่างๆ ส่วนใหญ่ถือเป็นพันธุ์พื้นเมือง เพราะปลูกกันมานาน และมักเก็บเมล็ดไว้ทำพันธุ์เองต่อกันไป
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูก การปลูกบวบเหลี่ยมนั้น สามารถปลูกได้ในดินแทบทุกชนิด และดินค่อนข้างเป็นกรดเล็กน้อย ในดินมีความชื้นสูงพอเหมาะสม่ำเสมอ ควรได้รับแสงแดดเต็มที่ในระหว่างการปลูก อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 20-30 องศาเซลเซียส สามารถปลูกได้ทุกฤดูกาล การเตรียมดินสำหรับปลูก เนื่องจากบวบเหลี่ยมเป็นผักที่มีระบบรากลึกปานกลาง ดินที่ใช้หรือกระถางที่ใช้ควมีความลึกประมาณ 20-25 เซนติเมตร ก่อนปลูกควรตากดินไว้ประมาณ 5-7 วัน ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วคลุกเคล้าลงไปในดินโดยเฉพาะดินทรายและดินเหนียวต้องใส่ให้มาก เพื่อปรับสภาพของดินให้ดีขึ้นและ เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน ถ้าดินเป็นกรดควรใส่ปูนขาวปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ย่อยดินและ พรวนดิน ให้ละเอียดร่วนโปร่งพร้อมที่จะปลูกได้ การปลูกบวบเหลี่ยม ระยะปลูกที่เหมาะสมคือ ระยะระหว่างต้น 75 เซนติเมตร ระยะระหว่างแถว 100 เซนติเมตร การปลูกให้หยอดเมล็ดพันธุ์โดยตรงลง ในแปลงหลุมละ 4-5 เมล็ด ฝังให้ลึกลงไปในดินประมาณ 2-4 เซนติเมตร จากนั้นกลบเมล็ดด้วยดินร่วนหรือปุ๋ยคอกหนาประมาณ 1 เซนติเมตร รดน้ำให้ชุ่มอย่างสม่ำเสมอทุกวัน เมื่อต้นกล้างอกอายุได้ประมาณ 10-15 วันหรือมีใบจริง 2-4 ใบ ให้ถอนแยกต้นที่ อ่อนแอ หรือต้นที่ไม่สมบูรณ์ทิ้ง ให้เหลือไว้หลุมละ 3 ต้น แต่ไม่เป็นอุปสรรคหากปลูกในกระถาง ซึ่งสามารถหยอดเมล็ดในหลุมปลูกได้ประมาณ 8-10 เมล็ดเลยทีเดียว การทำค้างบวบเหลี่ยม จำเป็นอย่างมาก เมื่อบวบเหลี่ยมเริ่มเลื้อยหรือเมื่ออายุประมาณ 15-20 วัน ควรทำค้างหรือร้านเพื่อให้บวบเลื้อยเกาะขึ้นไป โดยใช้ลวดหรือสลิง ขึงเป็นรูปตาข่ายให้แข็งแรงโดยขึงเป็นตาราง 4 เหลี่ยมพาดขวางประมาณ 2-3 ช่วง ทุกๆ ระยะ 40-50 เซนติเมตร การดูแลรักษาบวบเหลี่ยม ก็ไม่ยากนัก ส่วนใหญ่เน้นการให้น้ำ ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอและเพียงพอ ไม่ควรให้บวบเหลี่ยมขาดน้ำ ในระยะออกดอกและติดผล เพราะทำให้ดอกร่วงและ ไม่ติดผล ระบบการให้น้ำแบบปล่อยตามร่องจะให้ผลดี และหลีกเลี่ยงการให้น้ำแบบพ่นฝอยเพราะจะทำให้เกิดปัญหาโรคทางใบได้
หลายท่านบอกปลูกแล้วทำไมไม่ติดผล สำคัญที่การใส่ปุ๋ย เรื่องการใส่ปุ๋ย ควรให้ปุ๋ยที่มีสัดส่วนของธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียม และควรให้ปุ๋ยไนโตรเจน เช่น ยูเรียหรือแอมโมเนียมไนเตรท เพื่อช่วยเร่งการเจริญเติบโตในช่วงแรกแต่ต้องระมัดระวังไม่ควรให้ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไปเพราะจะทำให้เกิดอาการเฝือใบ การใส่ควรแบ่งใส่ 2 ครั้ง คือ ใส่ครั้งแรกในตอนปลูกแบบรองพื้นแล้วพรวนดินกลบ และใส่ครั้งที่สองเมื่อบวบอายุประมาณ 20-30 วัน โดยใส่แบบโรยข้างแล้วพรวนดินกลบ การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนควรใส่เพียงครั้งเดียวแบบโรยข้างเมื่อบวบอายุประมาณ 7-10 วัน
โ่รคและแมลงศัตรูที่สำคัญของบวบเหลี่ยม
โรคราน้ำค้างของบวบเหลี่ยม สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Pseudoperonospora cubensis อาการเริ่มแรก จะพบเป็นจุดสีเหลืองซีด ขนาด เล็กทางด้านหน้าใบ จุดดังกล่าวจะขยายออกเป็นรูปเหลี่ยมตามลักษณะของเส้นใบ เมื่อพลิกดูใต้ใบในเวลาเช้าจะพบเขม่าสีเทา ดำ ตรงบริเวณแผลนั้น ซึ่งเป็นส่วนของเชื้อและเนื้อเยื่อบริเวณที่เป็นแผลมีลักษณะแห้ง ยุบตัวลง เมื่อแผลรวมกันมากๆ จะทำให้เกิด อาการ ใบไหม้ การป้องกันกำจัดโรคราน้ำค้าง คลุกเมล็ดด้วยเมทาแลคซิลอัตรา 7 กรัมต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม กำจัดวัชพืชในแปลงปลูก เก็บใบแก่ๆ ที่แสดงอาการ ของโรค ใส่ถุงพลาสติกแล้วนำไปเผาทำลาย นอกจากนี้ฉีดพ่นด้วย คลอโรทาโรนิลหรือแมลโคเซป ในอัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
เต่าแตง เต่าแตงมีอยู่ 2 ชนิด คือ ชนิดสีดำ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Aulacophola frontalis และชนิดสีแดง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Aulacophola similis แต่ส่วนใหญ่จะพบสีแดง เต่าแตงเป็นแมลงปีกแข็ง ขนาดลำตัวยาว 0.8 เซนติเมตร ปีกคู่แรกแข็งเป็นมัน ลำตัวค่อนข้างยาว เคลื่อนไหวช้า จะพบเสมอเวลากลางวันที่มีแดดจัด ตัวอ่อนอาศัยอยู่ในดิน ลักษณะหนอนสีขาวยาวตัวเต็มวัย ของเต่าแตงสามารถมีอายุได้ถึง 100 วัน เต่าแตงตัวเมียวางไข่เดี่ยวๆ เป็นกลุ่มเล็กๆ อายุไข่ 8-15 วัน อายุตัวอ่อน 18-35 วัน อายุดักแด้ 4-14 วัน ลักษณะการทำลาย โดยตัวแก่จะกัดกินใบ หากเกิดการระบาดรุนแรงทำให้ชะงักการทอดยอดได้ ส่วนตัวอ่อนอาศัยอยู่ในดินโดย กัดกินราก บวบที่ถูกเต่าแตงเข้าทำลายจะทำให้ผลผลิตลดลงและผลมีขนาดเล็กลง การป้องกันกำจัดเต่าแตง หมั่นตรวจดูบวบ ในเวลา เช้าที่แดดยังไม่จัด การจับทำลายด้วยมือจะช่วยได้มาก ภายหลังเก็บเกี่ยวผลหมดแล้วไม่ ควร ปล่อย ต้นบวบทิ้งไว้บนแปลง ควรถอนทำลาย มิฉะนั้นอาจกลายเป็นแหล่งสะสมของเต่าแตงต่อไปได้ ปลูกบวบเหลี่ยมขึ้นแล้ว อย่าลืมบวบพันธุ์อื่น หรือผักไม้เลื้อยพันธุ์อื่นร่วมด้วยก็ดี เนื่องจากบวบเหลี่ยมจะมีอายุสั้น หากปลูกชนิดเดียวเมื่อผักหมดอายุอาจทำให้ดูไม่สวยได้
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น