“ไผ่ตงลืมแล้ง” เป็นพืชที่ปลูกและดูแลไม่ยาก แต่หากเริ่มต้นไม่ถูกวิธีหรือเริ่มต้นแบบงูๆ ปลาๆ ก็อาจจะก่อปัญหาสร้างความกวนใจให้ผู้ปลูกไผ่ตงลืมแล้งมิใช่น้อย เมื่อรู้อย่างนี้แล้วเราลองมาดูวิธีการเริ่มต้นปลูกไผ่ตงลืมแล้ง เพื่อสร้างรายได้ให้กับเราดีกว่า
การปลูกไผ่ตงลืมแล้งอย่างถูกวิธี
ฤดูที่เหมาะสมในการปลูกไผ่ตงลืมแล้งควรจะปลูกช่วงต้นฤดูฝน หรือราวเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม เนื่องจากในช่วงเริ่มแรกของการปลูกไผ่ตงลืมแล้ง ตัวของต้นไผ่เองต้องการน้ำมากจะขาดน้ำไม่ได้เลย เพราะไผ่ตงลืมแล้งต้องนำไปใช้เลี้ยงลำและสร้างหน่อใหม่
การเตรียมพื้นที่ในการปลูกไผ่ตงลืมแล้ง
หากพื้นที่ที่จะปลูกไผ่ตงลืมแล้งมีต้นไม้ใหญ่อยู่ ก็ควรที่จะตัดโค่นไม้ใหญ่ออก เพราะจะไปแย่งอาหารจากไผ่ถ้า ไม่เช่นนั้นไผ่จะโตช้าและต้องให้ปุ๋ยมากกว่าปกติ ถ้าเป็นพื้นที่ใกล้แหล่งน้ำจะดีมาก เพราะไผ่ตงลืมแล้งเป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก โดยส่วนใหญ่แล้วไผ่ทั่วไปไม่ชอบน้ำขัง แต่สำหรับไผ่ตงลืมแล้งถึงแม้ว่าจะโดนน้ำท่วมขังก็ไม่ตาย ท่านเลือกพื้นที่ที่จะทำการปลูกได้แล้ว เราจะเริ่มการเตรียมพื้นที่ปลูกโดยการไถหยาบตากแดดให้ดินแห้งเพื่อกำจัดเชื้อราและวัชพืชบางชนิด ทิ้งไว้ สัก 5-7 วัน ไถละเอียดอีกครั้งเป็นอันใช้ได้
จำนวนกิ่งพันธุ์ไผ่ตงลืมแล้งที่จะใช้ปลูก ต่อ 1ไร่
โดยส่วนใหญ่ผู้ปลูกไผ่ตงลืมแล้งจะนิยมปลูกไผ่ที่ระยะ 3*4 เมตร คือระยะห่างระหว่างต้น 3 เมตร ระยะห่างระหว่างแถว 4 เมตร ใช้กิ่งพันธุ์ประมาณ 120 กิ่งโดยมีหลักการคำนวนดังนี้
1 ไร่ = 400 ตารางวา โดยที่ 1 วา = 4 เมตร ดังนั้นพื้นที่1 ไร่ = 1,600 ตาราเมตร
พื้นที่ 1,600 ตารางเมตร. จะมีพื้นที่ขนาด กว้าง x ยาว = 40 เมตร x 40 เมตร.
ต้องการปลูกระยะระหว่างแถว 4 เมตร จะสามารถปลูกไผ่ตงลืมแล้งได้ 40 เมตร/ 4 เมตร = 10 แถว
ต้องการปลูกระยะระหว่างต้น 3 เมตร ต้องใช้กิ่งพันธุ์ไผ่ตงลืมแล้ง 40/ 3 = 12 ต้น
พื้นที่ 1 ไร่ จะใช้กิ่งพันธุ์ไผ่ตงลืมแล้งทั้งหมด ( 10 x 12 ต้น) = 120 ต้น
หากปลูกที่ระยะน้อยกว่านี้ การเข้าไปดูแลจัดการสวนจะทำได้ยากและไม่สะดวก อีกทั้งไผ่ยังจะแย่งอาหารกันเองทำให้ต้องให้ปุ๋ยไผ่บ่อยกว่าเดิม
การปลูกไผ่ตงลืมแล้ง
1. ขุดหลุมปลูกให้ได้ขนาดประมาณ 40 x 40 x 40 ซ.ม. แต่ขนาดของหลุมก็ขึ้นอยู่กับสภาพของดินถ้าเป็นร่วนปนทรายหลุมก็ไม่จำเป็นต้องใหญ่ บางพื้นที่ที่เป็นดินเหนียวหลุมที่ปลูกก็จะเล็กลงมาหน่อย ระยะห่างระหว่างต้นอยู่ที่ 3 x 4 เมตร โดยขุดหลุมและนำดินขึ้นมากองไว้ใส่ปุ๋ยคอกผสมกับหน้าดินที่ขุดขึ้นมาลงไปประมาณ 0.5-1.0 กิโลกรัม แนะนำให้ใส่ยาฆ่าแมลงฟูราดานลงไปด้วย 1 ช้อนชาเพื่อแก้ปัญหาปลวกในพื้นที่ปลูก
2. หลังจากนั้นผสมดินกับปุ๋ยคอกให้เข้ากันรองก้นหลุม ด้วยดินที่ผสมปุ๋ยคอกแล้วเพื่อเป็นอาหารให้ต้นไผ่ในช่วงสองเดือนแรก โดยจะให้สูงจากดินก้นหลุมประมาณ 10-15 ซม. แล้วนำต้นกล้าไผ่ตงลืมแล้งวางลงไปในหลุม
3. ให้วางกิ่งไผ่เอียงประมาณ 50-60 องศา เพราะหน่อต่อไปจะได้แทงขึ้นตรงและเร็ว ฉีกถุงพลาสติกออกก่อนวางกิ่งพันธุ์ กลบดินจนพูน ตอนนี้ให้รดน้ำและอัดดินให้แน่น เมื่อดินล่างแน่นแล้วให้กลบดินทั้งหมดลงไป พูนดินบริเวณโคนกิ่งไผ่ให้เป็นเนินสูงเล็กน้อย
4. ใช้ไม้ปักเป็นหลักตอกยึดกิ่งไผ่ไว้ให้แน่น เพื่อกันลมโยกหรือถ้าลมไม่แรงมากก็ไม่ต้องปักหลักไม้ รดน้ำให้ชุ่ม ควรใช้ทางมะพร้าวหรือวัสดุอื่นช่วยพรางแสงแดดจนกว่าต้นกล้าจะมีใบใหญ่และตั้งตัวได้ แล้วจึงค่อยเอาออก
การดูแลรักษา
1. การใส่ปุ๋ยไผ่ตงลืมแล้ง
ในช่วงแรก (1-3เดือน) ต้นไผ่สามารถใช้ปุ๋ยคอกที่คลุกเคล้าไปกับดินที่ปลูกได้พอ แต่ในระยะต่อๆ ไป จำเป็นต้องมีการพรวนดินรอบๆ กอและใส่ปุ๋ยคอก 1 เดือน/ ครั้ง ครั้งละประมาณ 2-3 กิโลกรัม ในระยะนี้อาจจะเห็นว่าหน่อที่แตกจะมีขนาดค่อนข้างเล็กและจะมีขนาดโตขึ้นทุกๆ ปี ถ้าความชุ่มชื้นและดินอุดมสมบูรณ์ดีเพียงพอ แต่ถ้าจะให้ผลรวดเร็วควรจะให้ปุ๋ยเคมี 46-0-0 เร่ง ประมาณ2-3กำมือ/ กอ/ เดือน จะทำให้ไผ่เกิดหน่อปริมาณมากตลอดปี พอเข้าเดือนที่ 7 จะทำการตัดแต่งกอและพรวนดินเพื่อกำจัดวัชพืช ปกตินิยมพรวนดินอีกครั้งในช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน ก่อนที่ดินจะแห้ง เพราะถ้าดินแห้งจะพรวนดินยาก ในกรณีที่ต้องการเร่งการออกหน่อ (กรณีพิเศษ) จะใส่ในช่วงต้นเดือน ก.พ.ถึง พ.ค. ปุ๋ยที่นิยมคือใช้ปุ๋ยคอกเป็นหลัก ในอัตรา 2-3กิโลกรัมต่อ กอ/ เดือน หรืออาจใช้ปุ๋ยเคมีสูตร13-13-21 อัตรา 200กรัมต่อกอ และปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 200กรัม/ กอ (เร่งหน่อเพื่อขาย ก่อนหน่อไม้ไทยจะเริ่มออกหน่อ)
2. การให้น้ำไผ่ตงลืมแล้ง
ช่วงแรก (โดยเฉพาะ 1-3 เดือน) ต้นไผ่ต้องการน้ำมาก ควรให้น้ำวันเว้นวัน แต่ถ้าปลูกไผ่ในฤดูฝน อาจไม่จำเป็นต้องให้น้ำถี่ขนาดนั้นก็ได้ นอกจากในกรณีฝนทิ้งช่วงนานจึงให้น้ำช่วย แต่หลังจากหมดฝนแล้ว ผู้ปลูกต้องคอยรดน้ำให้เสมออย่าปล่อยให้ขาดน้ำนาน เพราะในปีแรกต้นไผ่ยังไม่ค่อยแข็งแรงนักถ้าไม่มีน้ำ อาจตายได้โดยง่าย หลังจากต้นไผ่อายุเกิน 6-8 เดือน ไปแล้ว จะแข็งแรงและทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดีขึ้น
3. การไว้ลำและการตัดแต่งกอไผ่ตงลืมแล้ง
ไผ่ตงลืมแล้งเมื่อปลูกได้ประมาณ 3-4 เดือนจะเริ่มแตกหน่อได้ประมาณ 2-3 ลำ ในระยะแรกนี้จะไม่มีการตัดหน่อเลย ปล่อยให้เป็นลำต่อไป การดูแลกอไผ่ในช่วงนี้จะทำการตัดลำต้นที่เล็กออกไป ไม่ต้องเสียดาย ให้เหลือไว้เฉพาะลำที่ใหญ่ ลำที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-1.5 นิ้วตัดทิ้งให้หมด
วิธีการตัด ต้องตัดให้จมดิน อย่าให้มีตาเหลืออยู่อีก (ไม่ต้องการให้ขยายพันธุ์อีก) กิ่งแขนงเล็กๆ บริเวณโคนต้นที่ขึ้นเกะกะของลำแม่ควรตัดแต่งให้โล่ง (แสงแดดส่องถึงพื้นได้) เพื่อสะดวกในการให้น้ำและดูแล เมื่อต้นไผ่อายุได้ประมาณ 7-8 เดือนจะมีหน่อแทงขึ้นมาอีก 5-6 หน่อ ตอนนี้ก็ยังไม่มีการตัดหน่อ ปล่อยให้ไผ่เป็นลำต่อไป แต่ถ้าพื้นที่ตรงนั้นดินอุดมสมบูรณ์ดี หน่อออกเยอะเราควรตัดขายไปบ้าง เช่นถ้าขึ้นมา 5 หน่อให้ตัดขายไป 3 หน่อ แต่ให้เลือกเอาหน่อที่สมบูรณ์ไว้(หน่อที่เบียดกันให้ตัดออกขายไป) การดูแลกอไผ่เพียงแค่ตัดเอาหน่อเน่า ลำคดเอียงแคระแกร็นออกและตัดแต่งกิ่งแขนงเล็กๆทิ้ง รักษาลำไผ่ให้มีอยู่ประมาณ 5-6ลำ (ลำใหญ่ๆ)
จากนั้นจึงเริ่มตัดหน่อขายบ้าง การตัดหน่อขายนี้ควรจะตัดจากกลางกอก่อนแล้วขยายออกมารอบนอกกอ ซึ่งหน่อนอกๆ ต้องมีการรักษาไว้บ้างเพื่อให้เป็นลำแม่ โดยเลือกหน่อที่อวบใหญ่และอยู่ในลักษณะที่จะขยายออกเป็นวงกลมเพื่อจะทำให้กอใหญ่ขึ้น มีหน่อมากขึ้นในปีต่อไป สะดวกที่จะเข้าไปดูแลรักษาและตัดหน่อ การตัดแต่งกอนั้น ควรทำติดต่อกันทุกๆ ปี สำหรับไผ่ตงลืมแล้งนี้ควรแต่งกอไผ่ประมาณต้นเดือน ก.ค. เพราะตอนนี้ ไผ่ชนิดอื่นกำลังออกหน่อ ช่วงนี้หน่อไม้ออกเยอะราคาไม่ค่อยดี ควรปล่อยหน่อให้เจริญเป็นลำแม่ได้เต็มที่ พอต้นเดือนตุลาคมจึงค่อยอัดปุ๋ยคอกและน้ำเพื่อเร่งการออกหน่อในช่วงหน้าหนาวและหน้าแล้ง ช่วงนี้ราคาของหน่อไผ่จะดีมาก (พ.ย.-พ.ค.) ของทุกปี
4. การบังคับให้ไผ่ตงลืมแล้งเกิดหน่อมากขึ้น
ในการบังคับให้ไผ่ตงลืมแล้งแทงหน่อมากขึ้นตามฤดูกาลนั้น นอกจากการใส่ปุ๋ยและปฏิบัติดูแลตามปกติแล้ว ยังมีวิธีกระตุ้นให้ไผ่ตงแทงหน่อมากขึ้น โดยการสุมไฟในฤดูแล้งช่วงที่ลมสงบ (ปลายเดือน ม.ค-ก.พ.) โดยการรวบรวมใบไผ่และ กิ่งแขนง ที่ได้จากการตัดแต่งกิ่งแล้วนำมากองให้ห่างจากกอประมาณ 1 เมตร จุดไฟเผา แต่ต้องระวังไม่ให้ไฟกระโชกมาก โดยการพรมน้ำช่วยหรืออาจเอาใบไผ่และกิ่งแขนงสุมในกอเลย แต่ต้องระวังไม่ให้ไฟลามไปติดส่วนบนๆ ของกอ ในการสุมไฟนั้น เข้าใจว่าเป็นการเร่งให้ไผ่ตงมีการพักตัวเร็วขึ้น (hardening) เมื่อก่อนเข้าสู่ฤดูฝนจะได้แทงหน่อมากขึ้น หลังจากที่ได้พักตัวอย่างเต็มที่และการสุมไฟยังช่วยในการกำจัดโรคและแมลงไปพร้อมกันด้วย
นอกจากนี้ ยังมีวิธีการบังคับการออกหน่อวิธีอื่นอีก เช่น การพรวนดินแปลงไผ่ตงลืมแล้ ทั้งในระหว่างแถวและระหว่างต้น โดยทำการพรวนดินในช่วงก่อนฤดูแล้ง ประมาณเดือน ก.ค.-ก.ย. เป็นการทำลายรากแก่เพื่อให้แตกรากใหม่ ดังนั้นในการพรวนดิน การให้น้ำ ให้ปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอจะทำให้ไผ่ตงลืมแล้งออกหน่อเร็วและดกตลอดปี ส่วนการบังคับให้ไผ่ตงลืมแล้งแทงหน่อนอกฤดูปกติก็ทำได้เช่นกัน โดยการบำรุงต้นด้วยการใส่ปุ๋ยเคมีเพิ่มรวมกับปุ๋ยคอกและการให้น้ำอย่างถูกต้อง ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น จึงสามารถเร่งหน่อได้ และจะทำได้เฉพาะแปลงปลูกที่มีแหล่งน้ำอย่างเพียงพอเท่านั้น (จำเป็น)
5. การป้องกันกำจัดแมลงศัตรูของไผ่ตงลืมแล้ง
ปกติไม่มีการระบาดรุนแรงของโรคและแมลงในสวนไผ่มากนัก มีเพียงแมลงพวกหนอนผีเสื้อกลางคืนมากัดกิน และม้วนใบไผ่เพื่อหลบซ่อนและเป็นที่อาศัยในระยะเป็นดักแด้บ้างเล็กน้อย แมลงที่เข้าทำลายหน่ออ่อนของไม้ไผ่ส่วนมากเป็นประเภทกัดกินหน่อ 4-5 ชนิด คือ หนอนด้วงเจาะหน่อไผ่ (ไผ่ตงลืมแล้งไม่ค่อยเจอเพราะลำค่อนข้างตัน), ด้วงกินหน่อ, ด้วงงวงเจาะกิ่ง , เพลี้ยอ่อนและมวนดูดน้ำเลี้ยง การควบคุมและกำจัดสามารถกระทำได้หลายวิธี คือ ภายหลังที่หน่อเริ่มแตกจากตาของเหง้าปล้องแล้ว ก็หาทางป้องกันพวกเชื้อราและแมลงที่เข้ามากัดกินและอาศัยอยู่ตามกาบของหน่ออ่อน โดยการใช้สารปราบศัตรูพืช เช่น มาลาไทออน ผสมน้ำราดที่หน่อและเหง้า หรือใช้ฟูราดาน ภูไมด์ หว่านลงที่ดิน แต่อย่านำหน่อไปบริโภคภายใน 60 วัน หรือใช้วิธีควบคุมโดยการลิดกิ่ง หรือตัดลำแก่ที่เป็นที่อยู่ของดักแด้ออก แล้วทำลายหรือขายลำไป จึงเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยลดจำนวนประชากรแมลงได้ ส่วนมากแล้วไม่ค่อยพบปัญหาเกี่ยวกับโรคต่างๆ ในไผ่ตงลืมแล้ง แต่จะพบเพลี้ยตัวสีขาวๆ เกิดขึ้นตามข้อไผ่อ่อน เราอาจใช้ผงซักฟอกละลายน้ำราดรดลงไปก็จะหาย ถ้ามีจำนวนน้อยไม่มากนักก็ใช้มือขยี้ ถ้าจำเป็นต้องใช้เคมีก็ต้องใช้ชนิดอ่อนๆ เช่น เซฟวิน ฉีดพ่นครับ
6.การตัดหน่อไผ่ตงลืมแล้ง
ไผ่ตงลืมแล้งจะแทงหน่อตลอดปีแต่จะดกมากเมื่อเริ่มเข้าฤดูฝน (เม.ย.-มิ.ย.) การตัดหน่อจะตัดเมื่อหน่อยาวประมาณ 1 ฟุต โดยใช้เสียมหางปลาตัดหน่อบริเวณกาบใบที่ 3 จากโคนหน่อ ซึ่งจะเหลือตาไว้ 2-3 ตา สำหรับแตกหน่อในช่วงถัดไป สำหรับหน่อที่ไม่แข็งแรงให้ตัดออกทิ้งไป
การตัดหน่อควรทำตอนเช้ามืด เพื่อจะได้หน่อไม้สดส่งตลาด หน่อไม้ไผ่ตงลืมแล้ง(หน่อไม้หวาน)ที่ตัดไว้นาน ๆ จะทำให้ความหวานของหน่อลดลง ดังนั้น ควรตัดหน่อแล้วรีบขายทันที ในการตัดหน่อควรเริ่มตัดหน่อจากกลางกอก่อน แล้วขยายวงออกมารอบนอกกอ ส่วนหน่อที่อวบใหญ่ที่อยู่ด้านนอกควรมีการรักษาไว้เพื่อให้เป็นลำแม่
7.การแก้ปัญหาโคนไผ่ลอย
ไผ่ตงลืมแล้งหากโคนไผ่ลอยจะทำให้ออกหน่อน้อยหรือแทบจะไม่ออกเลย มีวิธีแก้แบบง่ายๆ ดังนี้
ที่มาเนื้อหาและภาพ : สวนไผ่อริยะระยอง
การปลูกไผ่ตงลืมแล้งอย่างถูกวิธี
ฤดูที่เหมาะสมในการปลูกไผ่ตงลืมแล้งควรจะปลูกช่วงต้นฤดูฝน หรือราวเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม เนื่องจากในช่วงเริ่มแรกของการปลูกไผ่ตงลืมแล้ง ตัวของต้นไผ่เองต้องการน้ำมากจะขาดน้ำไม่ได้เลย เพราะไผ่ตงลืมแล้งต้องนำไปใช้เลี้ยงลำและสร้างหน่อใหม่
การเตรียมพื้นที่ในการปลูกไผ่ตงลืมแล้ง
หากพื้นที่ที่จะปลูกไผ่ตงลืมแล้งมีต้นไม้ใหญ่อยู่ ก็ควรที่จะตัดโค่นไม้ใหญ่ออก เพราะจะไปแย่งอาหารจากไผ่ถ้า ไม่เช่นนั้นไผ่จะโตช้าและต้องให้ปุ๋ยมากกว่าปกติ ถ้าเป็นพื้นที่ใกล้แหล่งน้ำจะดีมาก เพราะไผ่ตงลืมแล้งเป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก โดยส่วนใหญ่แล้วไผ่ทั่วไปไม่ชอบน้ำขัง แต่สำหรับไผ่ตงลืมแล้งถึงแม้ว่าจะโดนน้ำท่วมขังก็ไม่ตาย ท่านเลือกพื้นที่ที่จะทำการปลูกได้แล้ว เราจะเริ่มการเตรียมพื้นที่ปลูกโดยการไถหยาบตากแดดให้ดินแห้งเพื่อกำจัดเชื้อราและวัชพืชบางชนิด ทิ้งไว้ สัก 5-7 วัน ไถละเอียดอีกครั้งเป็นอันใช้ได้
จำนวนกิ่งพันธุ์ไผ่ตงลืมแล้งที่จะใช้ปลูก ต่อ 1ไร่
โดยส่วนใหญ่ผู้ปลูกไผ่ตงลืมแล้งจะนิยมปลูกไผ่ที่ระยะ 3*4 เมตร คือระยะห่างระหว่างต้น 3 เมตร ระยะห่างระหว่างแถว 4 เมตร ใช้กิ่งพันธุ์ประมาณ 120 กิ่งโดยมีหลักการคำนวนดังนี้
1 ไร่ = 400 ตารางวา โดยที่ 1 วา = 4 เมตร ดังนั้นพื้นที่1 ไร่ = 1,600 ตาราเมตร
พื้นที่ 1,600 ตารางเมตร. จะมีพื้นที่ขนาด กว้าง x ยาว = 40 เมตร x 40 เมตร.
ต้องการปลูกระยะระหว่างแถว 4 เมตร จะสามารถปลูกไผ่ตงลืมแล้งได้ 40 เมตร/ 4 เมตร = 10 แถว
ต้องการปลูกระยะระหว่างต้น 3 เมตร ต้องใช้กิ่งพันธุ์ไผ่ตงลืมแล้ง 40/ 3 = 12 ต้น
พื้นที่ 1 ไร่ จะใช้กิ่งพันธุ์ไผ่ตงลืมแล้งทั้งหมด ( 10 x 12 ต้น) = 120 ต้น
หากปลูกที่ระยะน้อยกว่านี้ การเข้าไปดูแลจัดการสวนจะทำได้ยากและไม่สะดวก อีกทั้งไผ่ยังจะแย่งอาหารกันเองทำให้ต้องให้ปุ๋ยไผ่บ่อยกว่าเดิม
การปลูกไผ่ตงลืมแล้ง
1. ขุดหลุมปลูกให้ได้ขนาดประมาณ 40 x 40 x 40 ซ.ม. แต่ขนาดของหลุมก็ขึ้นอยู่กับสภาพของดินถ้าเป็นร่วนปนทรายหลุมก็ไม่จำเป็นต้องใหญ่ บางพื้นที่ที่เป็นดินเหนียวหลุมที่ปลูกก็จะเล็กลงมาหน่อย ระยะห่างระหว่างต้นอยู่ที่ 3 x 4 เมตร โดยขุดหลุมและนำดินขึ้นมากองไว้ใส่ปุ๋ยคอกผสมกับหน้าดินที่ขุดขึ้นมาลงไปประมาณ 0.5-1.0 กิโลกรัม แนะนำให้ใส่ยาฆ่าแมลงฟูราดานลงไปด้วย 1 ช้อนชาเพื่อแก้ปัญหาปลวกในพื้นที่ปลูก
2. หลังจากนั้นผสมดินกับปุ๋ยคอกให้เข้ากันรองก้นหลุม ด้วยดินที่ผสมปุ๋ยคอกแล้วเพื่อเป็นอาหารให้ต้นไผ่ในช่วงสองเดือนแรก โดยจะให้สูงจากดินก้นหลุมประมาณ 10-15 ซม. แล้วนำต้นกล้าไผ่ตงลืมแล้งวางลงไปในหลุม
3. ให้วางกิ่งไผ่เอียงประมาณ 50-60 องศา เพราะหน่อต่อไปจะได้แทงขึ้นตรงและเร็ว ฉีกถุงพลาสติกออกก่อนวางกิ่งพันธุ์ กลบดินจนพูน ตอนนี้ให้รดน้ำและอัดดินให้แน่น เมื่อดินล่างแน่นแล้วให้กลบดินทั้งหมดลงไป พูนดินบริเวณโคนกิ่งไผ่ให้เป็นเนินสูงเล็กน้อย
4. ใช้ไม้ปักเป็นหลักตอกยึดกิ่งไผ่ไว้ให้แน่น เพื่อกันลมโยกหรือถ้าลมไม่แรงมากก็ไม่ต้องปักหลักไม้ รดน้ำให้ชุ่ม ควรใช้ทางมะพร้าวหรือวัสดุอื่นช่วยพรางแสงแดดจนกว่าต้นกล้าจะมีใบใหญ่และตั้งตัวได้ แล้วจึงค่อยเอาออก
การดูแลรักษา
1. การใส่ปุ๋ยไผ่ตงลืมแล้ง
ในช่วงแรก (1-3เดือน) ต้นไผ่สามารถใช้ปุ๋ยคอกที่คลุกเคล้าไปกับดินที่ปลูกได้พอ แต่ในระยะต่อๆ ไป จำเป็นต้องมีการพรวนดินรอบๆ กอและใส่ปุ๋ยคอก 1 เดือน/ ครั้ง ครั้งละประมาณ 2-3 กิโลกรัม ในระยะนี้อาจจะเห็นว่าหน่อที่แตกจะมีขนาดค่อนข้างเล็กและจะมีขนาดโตขึ้นทุกๆ ปี ถ้าความชุ่มชื้นและดินอุดมสมบูรณ์ดีเพียงพอ แต่ถ้าจะให้ผลรวดเร็วควรจะให้ปุ๋ยเคมี 46-0-0 เร่ง ประมาณ2-3กำมือ/ กอ/ เดือน จะทำให้ไผ่เกิดหน่อปริมาณมากตลอดปี พอเข้าเดือนที่ 7 จะทำการตัดแต่งกอและพรวนดินเพื่อกำจัดวัชพืช ปกตินิยมพรวนดินอีกครั้งในช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน ก่อนที่ดินจะแห้ง เพราะถ้าดินแห้งจะพรวนดินยาก ในกรณีที่ต้องการเร่งการออกหน่อ (กรณีพิเศษ) จะใส่ในช่วงต้นเดือน ก.พ.ถึง พ.ค. ปุ๋ยที่นิยมคือใช้ปุ๋ยคอกเป็นหลัก ในอัตรา 2-3กิโลกรัมต่อ กอ/ เดือน หรืออาจใช้ปุ๋ยเคมีสูตร13-13-21 อัตรา 200กรัมต่อกอ และปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 200กรัม/ กอ (เร่งหน่อเพื่อขาย ก่อนหน่อไม้ไทยจะเริ่มออกหน่อ)
2. การให้น้ำไผ่ตงลืมแล้ง
ช่วงแรก (โดยเฉพาะ 1-3 เดือน) ต้นไผ่ต้องการน้ำมาก ควรให้น้ำวันเว้นวัน แต่ถ้าปลูกไผ่ในฤดูฝน อาจไม่จำเป็นต้องให้น้ำถี่ขนาดนั้นก็ได้ นอกจากในกรณีฝนทิ้งช่วงนานจึงให้น้ำช่วย แต่หลังจากหมดฝนแล้ว ผู้ปลูกต้องคอยรดน้ำให้เสมออย่าปล่อยให้ขาดน้ำนาน เพราะในปีแรกต้นไผ่ยังไม่ค่อยแข็งแรงนักถ้าไม่มีน้ำ อาจตายได้โดยง่าย หลังจากต้นไผ่อายุเกิน 6-8 เดือน ไปแล้ว จะแข็งแรงและทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดีขึ้น
3. การไว้ลำและการตัดแต่งกอไผ่ตงลืมแล้ง
ไผ่ตงลืมแล้งเมื่อปลูกได้ประมาณ 3-4 เดือนจะเริ่มแตกหน่อได้ประมาณ 2-3 ลำ ในระยะแรกนี้จะไม่มีการตัดหน่อเลย ปล่อยให้เป็นลำต่อไป การดูแลกอไผ่ในช่วงนี้จะทำการตัดลำต้นที่เล็กออกไป ไม่ต้องเสียดาย ให้เหลือไว้เฉพาะลำที่ใหญ่ ลำที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-1.5 นิ้วตัดทิ้งให้หมด
วิธีการตัด ต้องตัดให้จมดิน อย่าให้มีตาเหลืออยู่อีก (ไม่ต้องการให้ขยายพันธุ์อีก) กิ่งแขนงเล็กๆ บริเวณโคนต้นที่ขึ้นเกะกะของลำแม่ควรตัดแต่งให้โล่ง (แสงแดดส่องถึงพื้นได้) เพื่อสะดวกในการให้น้ำและดูแล เมื่อต้นไผ่อายุได้ประมาณ 7-8 เดือนจะมีหน่อแทงขึ้นมาอีก 5-6 หน่อ ตอนนี้ก็ยังไม่มีการตัดหน่อ ปล่อยให้ไผ่เป็นลำต่อไป แต่ถ้าพื้นที่ตรงนั้นดินอุดมสมบูรณ์ดี หน่อออกเยอะเราควรตัดขายไปบ้าง เช่นถ้าขึ้นมา 5 หน่อให้ตัดขายไป 3 หน่อ แต่ให้เลือกเอาหน่อที่สมบูรณ์ไว้(หน่อที่เบียดกันให้ตัดออกขายไป) การดูแลกอไผ่เพียงแค่ตัดเอาหน่อเน่า ลำคดเอียงแคระแกร็นออกและตัดแต่งกิ่งแขนงเล็กๆทิ้ง รักษาลำไผ่ให้มีอยู่ประมาณ 5-6ลำ (ลำใหญ่ๆ)
จากนั้นจึงเริ่มตัดหน่อขายบ้าง การตัดหน่อขายนี้ควรจะตัดจากกลางกอก่อนแล้วขยายออกมารอบนอกกอ ซึ่งหน่อนอกๆ ต้องมีการรักษาไว้บ้างเพื่อให้เป็นลำแม่ โดยเลือกหน่อที่อวบใหญ่และอยู่ในลักษณะที่จะขยายออกเป็นวงกลมเพื่อจะทำให้กอใหญ่ขึ้น มีหน่อมากขึ้นในปีต่อไป สะดวกที่จะเข้าไปดูแลรักษาและตัดหน่อ การตัดแต่งกอนั้น ควรทำติดต่อกันทุกๆ ปี สำหรับไผ่ตงลืมแล้งนี้ควรแต่งกอไผ่ประมาณต้นเดือน ก.ค. เพราะตอนนี้ ไผ่ชนิดอื่นกำลังออกหน่อ ช่วงนี้หน่อไม้ออกเยอะราคาไม่ค่อยดี ควรปล่อยหน่อให้เจริญเป็นลำแม่ได้เต็มที่ พอต้นเดือนตุลาคมจึงค่อยอัดปุ๋ยคอกและน้ำเพื่อเร่งการออกหน่อในช่วงหน้าหนาวและหน้าแล้ง ช่วงนี้ราคาของหน่อไผ่จะดีมาก (พ.ย.-พ.ค.) ของทุกปี
4. การบังคับให้ไผ่ตงลืมแล้งเกิดหน่อมากขึ้น
ในการบังคับให้ไผ่ตงลืมแล้งแทงหน่อมากขึ้นตามฤดูกาลนั้น นอกจากการใส่ปุ๋ยและปฏิบัติดูแลตามปกติแล้ว ยังมีวิธีกระตุ้นให้ไผ่ตงแทงหน่อมากขึ้น โดยการสุมไฟในฤดูแล้งช่วงที่ลมสงบ (ปลายเดือน ม.ค-ก.พ.) โดยการรวบรวมใบไผ่และ กิ่งแขนง ที่ได้จากการตัดแต่งกิ่งแล้วนำมากองให้ห่างจากกอประมาณ 1 เมตร จุดไฟเผา แต่ต้องระวังไม่ให้ไฟกระโชกมาก โดยการพรมน้ำช่วยหรืออาจเอาใบไผ่และกิ่งแขนงสุมในกอเลย แต่ต้องระวังไม่ให้ไฟลามไปติดส่วนบนๆ ของกอ ในการสุมไฟนั้น เข้าใจว่าเป็นการเร่งให้ไผ่ตงมีการพักตัวเร็วขึ้น (hardening) เมื่อก่อนเข้าสู่ฤดูฝนจะได้แทงหน่อมากขึ้น หลังจากที่ได้พักตัวอย่างเต็มที่และการสุมไฟยังช่วยในการกำจัดโรคและแมลงไปพร้อมกันด้วย
นอกจากนี้ ยังมีวิธีการบังคับการออกหน่อวิธีอื่นอีก เช่น การพรวนดินแปลงไผ่ตงลืมแล้ ทั้งในระหว่างแถวและระหว่างต้น โดยทำการพรวนดินในช่วงก่อนฤดูแล้ง ประมาณเดือน ก.ค.-ก.ย. เป็นการทำลายรากแก่เพื่อให้แตกรากใหม่ ดังนั้นในการพรวนดิน การให้น้ำ ให้ปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอจะทำให้ไผ่ตงลืมแล้งออกหน่อเร็วและดกตลอดปี ส่วนการบังคับให้ไผ่ตงลืมแล้งแทงหน่อนอกฤดูปกติก็ทำได้เช่นกัน โดยการบำรุงต้นด้วยการใส่ปุ๋ยเคมีเพิ่มรวมกับปุ๋ยคอกและการให้น้ำอย่างถูกต้อง ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น จึงสามารถเร่งหน่อได้ และจะทำได้เฉพาะแปลงปลูกที่มีแหล่งน้ำอย่างเพียงพอเท่านั้น (จำเป็น)
5. การป้องกันกำจัดแมลงศัตรูของไผ่ตงลืมแล้ง
ปกติไม่มีการระบาดรุนแรงของโรคและแมลงในสวนไผ่มากนัก มีเพียงแมลงพวกหนอนผีเสื้อกลางคืนมากัดกิน และม้วนใบไผ่เพื่อหลบซ่อนและเป็นที่อาศัยในระยะเป็นดักแด้บ้างเล็กน้อย แมลงที่เข้าทำลายหน่ออ่อนของไม้ไผ่ส่วนมากเป็นประเภทกัดกินหน่อ 4-5 ชนิด คือ หนอนด้วงเจาะหน่อไผ่ (ไผ่ตงลืมแล้งไม่ค่อยเจอเพราะลำค่อนข้างตัน), ด้วงกินหน่อ, ด้วงงวงเจาะกิ่ง , เพลี้ยอ่อนและมวนดูดน้ำเลี้ยง การควบคุมและกำจัดสามารถกระทำได้หลายวิธี คือ ภายหลังที่หน่อเริ่มแตกจากตาของเหง้าปล้องแล้ว ก็หาทางป้องกันพวกเชื้อราและแมลงที่เข้ามากัดกินและอาศัยอยู่ตามกาบของหน่ออ่อน โดยการใช้สารปราบศัตรูพืช เช่น มาลาไทออน ผสมน้ำราดที่หน่อและเหง้า หรือใช้ฟูราดาน ภูไมด์ หว่านลงที่ดิน แต่อย่านำหน่อไปบริโภคภายใน 60 วัน หรือใช้วิธีควบคุมโดยการลิดกิ่ง หรือตัดลำแก่ที่เป็นที่อยู่ของดักแด้ออก แล้วทำลายหรือขายลำไป จึงเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยลดจำนวนประชากรแมลงได้ ส่วนมากแล้วไม่ค่อยพบปัญหาเกี่ยวกับโรคต่างๆ ในไผ่ตงลืมแล้ง แต่จะพบเพลี้ยตัวสีขาวๆ เกิดขึ้นตามข้อไผ่อ่อน เราอาจใช้ผงซักฟอกละลายน้ำราดรดลงไปก็จะหาย ถ้ามีจำนวนน้อยไม่มากนักก็ใช้มือขยี้ ถ้าจำเป็นต้องใช้เคมีก็ต้องใช้ชนิดอ่อนๆ เช่น เซฟวิน ฉีดพ่นครับ
6.การตัดหน่อไผ่ตงลืมแล้ง
ไผ่ตงลืมแล้งจะแทงหน่อตลอดปีแต่จะดกมากเมื่อเริ่มเข้าฤดูฝน (เม.ย.-มิ.ย.) การตัดหน่อจะตัดเมื่อหน่อยาวประมาณ 1 ฟุต โดยใช้เสียมหางปลาตัดหน่อบริเวณกาบใบที่ 3 จากโคนหน่อ ซึ่งจะเหลือตาไว้ 2-3 ตา สำหรับแตกหน่อในช่วงถัดไป สำหรับหน่อที่ไม่แข็งแรงให้ตัดออกทิ้งไป
การตัดหน่อควรทำตอนเช้ามืด เพื่อจะได้หน่อไม้สดส่งตลาด หน่อไม้ไผ่ตงลืมแล้ง(หน่อไม้หวาน)ที่ตัดไว้นาน ๆ จะทำให้ความหวานของหน่อลดลง ดังนั้น ควรตัดหน่อแล้วรีบขายทันที ในการตัดหน่อควรเริ่มตัดหน่อจากกลางกอก่อน แล้วขยายวงออกมารอบนอกกอ ส่วนหน่อที่อวบใหญ่ที่อยู่ด้านนอกควรมีการรักษาไว้เพื่อให้เป็นลำแม่
7.การแก้ปัญหาโคนไผ่ลอย
ไผ่ตงลืมแล้งหากโคนไผ่ลอยจะทำให้ออกหน่อน้อยหรือแทบจะไม่ออกเลย มีวิธีแก้แบบง่ายๆ ดังนี้
ที่มาเนื้อหาและภาพ : สวนไผ่อริยะระยอง
Good!!!
ตอบลบ******************************************
pgslot joker gaming
Joker123NETENT
PlayStar WM Casino
AE Sexy DG DreamGaming
PP PragmaticPlaysa game
สมัคร betflik betflik สมัคร
BPG BluePrint คาสิโนออนไลน์
บาคาร่าเสือมังกร
พีจีสล็อต สล็อตโจ้กเกอร์
SA Gaming dreamgaming
sexygame สมัคร sexygame
SA Gaming dreamgaming sexygame
pgslot joker gaming Joker123
เสือมังกร พีจีสล็อต สล็อตโจ้กเกอร์
NETENT PlayStar WM Casino
AE Sexy DG DreamGaming PP PragmaticPlay
BPG BluePrint คาสิโนออนไลน์ บาคาร่า
sa game สมัคร betflik betflik สมัคร
betflik สมัคร betflik
betflik สมัคร betfilk
******************************************